เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells)

เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells)

06.11
10698
0

เซลล์เม็ดเลือดขาวหมุนเวียนอยู่รอบๆเลือดและมีหน้าที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับการติดเชื้อ

สเต็มเซลล์ที่อยู่ในไขกระดูกมีส่วนรับผิดชอบในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว จากนั้นไขกระดูกก็จะเก็บเซลล์เม็ดเลือดขาวไว้ราว 80-90%

เมื่อมีการติดเชื้อหรือการอักเสบเกิดขึ้น ร่างกายก็จะปล่อยเซลล์เม็ดเลือดขาวออกไปช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อนั้นๆ 

ชนิดและการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้แบ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆดังนี้ : แกรนูโลไซต์ ลิมโฟไซด์และโมโนไซด์ 

ชนิดแกรนูโลไซต์

ชนิดแกรนูโลไซต์คือเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแกรนูลเล็กๆที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ เซลล์แกรนูโลไซต์แบ่งออกเป็นสามชนิดคือ:

  • เบโซฟิล: มีให้เห็นน้อยกว่า 1% ของเซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งหมดในร่างกาย และเป็นชนิดที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นหลังจากเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
  • อีโอซิโนฟิล: มีส่วนรับผิดชอบต่อการติดเชื้อที่มีสาเหตุจากเชื้อปรสิต มีบทบาทในการตอบสนองภูมิต้านทานทั่วไป รวมถึงการตอบสนองต่อการอักเสบในร่างกาย
  • นิวโตรฟิล: เป็นชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาวส่วนใหญ่ในร่างกาย มีบทบาทเป็นเหมือนตัวเก็บขยะ ที่คอยช่วยเหลือไปรอบๆและทำลายเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่อาจปรากฏขึ้นในร่างกาย

ลิมโฟไซด์

เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งรวมไปถึง:

  • ชนิดบีเซลล์: หรือที่เรียกว่า B-lymphocytes เซลล์ชนิดนี้จะผลิตแอนติบอดี้เพื่อช่วยระบบภูมิต้านทานในการตอบสนองต่อการติดเชื้อ 
  • ชนิดทีเซลล์: หรือที่เรียกว่า T-lymphocytes เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ช่วยจดจำและกำจัดเซลล์ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ 
  • เซลล์เพชฌฆาต: เป็นเซลล์ที่รับผิดชอบในการเข้าจู่โจมและฆ่าเซลล์ไวรัส รวมไปถึงเซลล์มะเร็ง

โมโนไซด์

เซลล์โมโนไซด์คือเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีอยู่ราว 2-8% ของเซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งหมกในร่างกาย จะปรากฏตัวเมื่อร่างกายต่อสู้ป้องกันจากการติดเชื้อเรื้อรัง

เป็นเซลล์ที่มีเป้าประสงค์และทำลายเซลล์ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ

ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว

ค่าปกติ (ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร) ของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่แบ่งตามช่วงอายุคือ:

อายุ ค่าปกติ
เด็กทารกแรกเกิด 13,000–38,000
ทารก 2 สัปดาห์ 5,000–20,000
ผู้ใหญ่ 4,500–11,000

ค่าปกติสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 คือ  5,800–13,200 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร

ค่าเม็ดเลือดขาวสูง

หากร่างกายมีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติมากกว่าที่ควรจะเป็น แพทย์จะเรียกว่าภาวะเม็ดเลือดขาวสูง

เมื่อมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงเกิดจากภาวะดังต่อไปนี้:

  • การตอบสนองต่อภูมิแพ้ เช่น หอบหืดกำเริบ
  • อาจมีสาเหตุมาจากเซลล์ตาย เช่นแผลไฟไหม้ หัวใจวายและการบาดเจ็บ
  • เกิดภาวะของการอักเสบ เช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้อักเสบหรือโรคหลอดเลือดอักเสบ
  • เกิดการติดเชื้อเช่นติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราหรือปรสิต
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การผ่าตัดอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลล์ตายจนทำให้มีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงได้

มีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ

หากพบว่าร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวได้น้อยกว่าที่ควรเป็นแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่าภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

ภาวะที่อาจทำให้เม็ดเลือดขาวน้อยได้คือ:

  • โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเองเช่น โรคลูปัส และเอชไอวี
  • ไขกระดูกเสียหาย เช่นเสียหายจากการทำคีโมบำบัด การฉายแสงหรือการสัมผัสสารพิษ
  • ไขกระดูกผิดปกติ
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • ภาวะติดเชื้อ ซึ่งเป็นการติดเชื้อชนิดรุนแรง
  • ภาวะพร่องวิตามินบี12

แพทย์จะเฝ้าคอยติดตามดูเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อทำการประเมินหากภูมิต้านทานของร่างกายมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อ

White Blood Cells

การตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดขาว

ในระหว่างตรวจร่างกาย แพทย์อาจสั่งตรวจดูจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยใช้การตรวจเลือด แพทย์จะใช้ผลตรวจเพื่อหาสาเหตุหรือตัดโรคอื่นๆที่อาจส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวทิ้งไป

แม้ตัวอย่างเลือดในร่างกายจะให้ผลของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ก็ตาม แต่แพทย์อาจสั่งตรวจของเหลวของร่างกายอื่นๆร่วมด้วยเช่นการตรวจของเหลวในไขสันหลัง เพื่อดูการมีอยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว 

แพทย์อาจสั่งตรวจเม็ดเลือดขาวเพื่อ:

  • เพื่อตรวจหาภูมิแพ้
  • เพื่อตรวจดูการติดเชื้อ
  • เพื่อตรวจโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • เฝ้าติดตามดูกระบวนการของโรคบางชนิด
  • เฝ้าติดตามผลที่ได้จากการรักษา เช่นการปลูกถ่ายไขกระดูก

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคภูมิแพ้  

ภาวะที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว

ภาวะดังต่อไปนี้อาจส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกาย

โรคไขกระดูกฝ่อ

เป็นภาวะที่ร่างกายทำลายสเต็มเซลล์ในไขกระดูก

สเต็มเซลล์มีส่วนรับผิดชอบในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวใหม่ เซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด

กลุ่มอาการอีแวนส์

เป็นภาวะภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเองทำลายเซลล์ที่มีสุขภาพดี รวมไปถึงเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาว

เอชไอวี

เอชไอวีสามารถลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ซีดีสี่ ทีเซลล์ เกิดขึ้นเมื่อจำนวนของทีเซลล์ตกลงต่ำกว่า 200 แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเอดส์

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวคือโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อเลือดและไขกระดูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวผลิตเร็วเกินไปและไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้

โรคพังผืดในไขกระดูกปฐมภูมิ

เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายผลิตเซลล์เลือดบางชนิดมากเกินไป ทำให้เกิดรอยแผลเป็นในไขกระดูก

จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มหรือลดได้อย่างไร

ความต้องการในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

หากมีภาวะโรคที่ส่งผลต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ถึงเป้าหมายของจำนวนเม็ดเลือดขาวของคุณ ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการรักษา

จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำอาจเกิดจากการรับประทานยาเช่น ไฮดรอกซียูเรียหรือการเปลี่ยนถ่ายพลาสมาโดยใช้เครื่องคัดกรองเลือด 

หากจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำเพราะการรักษามะเร็งเช่นการทำคีโมบำบัด แพทย์อาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย สิ่งนี้อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อได้

บทสรุป

เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความสำคัญกับการตอบสนองต่อภูมิต้านทานของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิดแตกต่างกันออกไป และต่างก็ส่งผลต่อการทำงานเฉพาะตัวในร่างกายของเรา

โรคบางชนิดสามารถส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกาย ซึ่งส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *