svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

25 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ไมเกรน" เป็นหนึ่งสาเหตุสําคัญไม่ตํ่ากว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ของอาการปวดหัวทั้งหมด จะมีอาการปวดรุนแรงขึ้นและถี่ขึ้นเนื่องจากแสงจ้า มีรังสี Ultraviolet (UV) ทั้งชนิดUVA และ UVB จะกระตุ้นให้ไมเกรนปะทุขึ้นมาได้

จัดมาให้อีกชุด เอาใจคนรักวันหยุดจะได้พักผ่อนนอนอ่านแบบสบายๆ นำเอาบทความดีๆ ที่เพิ่งโพสต์ล่าสุด โพสต์ล่าสุดที่เพจของ หมอดื้อ หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha โดยมีข้อความว่า

แถมมากับร้อน คือ ปวดหัว
นอกจากความร้อน ยังมีเรื่องแสงสว่างจ้า 
ที่ควรระวัง คือ อาการปวดหัว โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคปวดหัวประจําไมเกรน (migraine) อยู่แล้ว


ไมเกรน เป็นสาเหตุสําคัญไม่ตํ่ากว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ของปวดหัวทั้งหมด จะมีอาการปวดรุนแรงขึ้นและถี่ขึ้นเนื่องจากแสงจ้า มีรังสี Ultraviolet (UV) ทั้งชนิดUVA และ UVB จะกระตุ้นให้ไมเกรนปะทุขึ้นมาได้ ในเชิงวิชาการ อาจจะอธิบายจากการที่สมองส่วนท้ายทอย (Occipital Lobe) ซึ่งเป็นส่วนรับแสง ภาพของผู้ป่วยไมเกรนจะมีความไวกว่าปกติ นอกจากนั้น ยิ่งคนที่มีความสุขต่อการบริโภคขนมนมเนย ข้าวเหนียวมะม่วง ทุเรียน จนอ้วน (โดยดูจากดัชนีมวลกาย หรือขนาดรอบพุง) จะยิ่งมีโอกาสเป็นไมเกรนมากขึ้น

จากการศึกษาในวารสารปวดหัว (ปี 2553) ในประชากรของประเทศสหรัฐฯ จํานวน 21,783 ราย พบว่าคนอ้วนจะมีโอกาสเป็นไมเกรนได้มากกว่าคนปกติ ทั้งในผู้ชายผู้หญิง และคนที่เป็นไมเกรนยังถูกกระตุ้นด้วยอาหารบางชนิดอีกด้วย 

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

ข้อที่พึงปฏิบัติคือ ระวังแสงจ้าจากดวงอาทิตย์ ทั้งที่สอดส่องเข้ามาทางหน้าต่าง หรือเมื่อออกไปกลางแจ้ง ต้องสวมแว่นกันแดดไว้ตลอด แว่นกันแดดต้องมี คุณสมบัติตัดทั้งแสงจ้า รวมทั้งรังสี UVA และ UVB เนื่องจากถ้าตัดแสงอย่างเดียว รูม่านตาจะยิ่งขยายโตมากขึ้น เป็นโอกาสให้ได้รับรังสีมากขึ้นไปอีก ทําให้กระตุ้นไมเกรนรวมทั้งทําลายเยื่อประสาทตา เลนส์ตา
 

สําหรับในสถานที่ทํางาน จอคอมพิวเตอร์ต้องไม่จ้า จนเกินไป ไฟฟลูออเรสเซนท์เป็นอีกปัจจัย ที่ต้องระวังไม่ให้กะพริบ เพราะการกะพริบ จะยิ่งกระตุ้นให้ปวดไมเกรนเข้าไปอีก 

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 
อย่างไรเสียในคนที่อ้วน แล้ว ควรต้องลดนํ้าหนัก ถึงแม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าลดนํ้าหนักแล้วไมเกรนจะดีขึ้นหรือไม่ แต่ที่แน่ๆคือลดโอกาสเป็นหัวใจวาย อัมพฤกษ์ เบาหวาน

นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ปวดไมเกรนต้องทบทวนว่า ไปรับประทานอาหารอะไรเป็นพิเศษ ซึ่งแต่ละคน จะมีอาหารที่กระตุ้นไมเกรนไม่ เหมือนกัน จึงต้องคอยจดจํา หลีกเลี่ยง มิฉะนั้นต้องทานยาแก้ปวด อยู่รํ่าไป โดย เฉพาะยาแก้ปวดยิ่งแรงเท่าไหร่ หรือยาที่มีสาร Ergot (เช่น Cafergot) ถ้าใช้บ่อยเกิน 2-3 ครั้งขึ้นไปต่ออาทิตย์ จะยิ่งกระตุ้นให้ยิ่งปวดเข้าไปอีก และทําให้ต้องใช้ยาป้องกันการปวด ซึ่งต้อง รับประทานทุกวันเป็นเดือน และยาErgot มีอันตรายมหาศาล ถึงตาย ตัดแขนขา เพราะเส้นเลือดหด
อยากให้ออกจากการใช้เสียด้วยซ้ำ

ขอให้คนไทยใช้ชีวิตอยู่กับความร้อนได้อย่างมีความสุขนะครับ

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

“ปวดหัวข้างเดียว ปวดตุ้บ ๆ บางครั้งปวดมากจนไม่เป็นอันทำอะไร แถมมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย” เหล่านี้คือาการเตือนของโรคไมเกรน

มาทำความรู้จัก อาการ "ไมเกรน" คืออะไร?

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

ไมเกรน (migraine) เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ชนิดหนึ่งที่รบกวนชีวิตประจำวัน ลักษณะอาการที่สังเกตได้ คือ ปวดศีรษะแบบตุบๆ มักจะเกิดข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ โดยโรคไมเกรนส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง ซึ่งนอกจากจะเป็นการรบกวนชีวิตประจำวันแล้วยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

จับสังเกตอาการปวดหัวแบบ “ไมเกรน”

  • ปวดศีรษะข้างเดียว
  • ปวดศีรษะแบบตุบๆ เป็นระยะหรือเป็นจังหวะ
  • ในส่วนมากลักษณะอาการปวดมักมีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก
  • บางรายอาจมีอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย
  • อาจมีอาการนำก่อนปวดศีรษะ เช่น เห็นแสงวูบวาบ ไฟระยิบระยับ เห็นภาพเบลอ เป็นต้น โดยมักมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะประมาณ 10 – 30 นาที

แล้วรู้หรือไม่ว่า? ที่ปวดหัวไมเกรนบ่อย ๆ อาจเพราะมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ก็ได้
▪ นอนหลับไม่เพียงพอ
▪ ความเครียด
▪ กินข้าวไม่ตรงเวลา กินข้าวไม่ครบมื้อ
▪ กินอาหารบางประเภทมากเกินไป
▪ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
▪ อยู่ในที่ ที่มีแสงจ้า
▪ แพ้กลิ่น

ไมเกรนสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาและพักผ่อนให้เพียงพอ โดยการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่เคร่งเครียดมากจนเกินไป ถือเป็นวิธีที่ช่วยในการป้องกันจากอาการไมเกรน

สำหรับการรักษานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะ ซึ่งหากมีอาการปวดศีรษะดังกล่าวควรได้รับคำแนะนำและวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

อีกบทความที่นำมาฝากกันตรงนี้ เผยความรู้อีกมุมดีๆ ที่เรา คนรักสุขภาพอาจคาดไม่ถึง

ปวดหัวข้างเดียว สัญญาณสุขภาพที่อาจไม่ใช่ไมเกรนเสมอไป

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

ปวดหัว เป็นอาการที่ไม่ว่าใครก็ต้องเคยพบเจอ อาการปวดหัวนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ อีกทั้งยังแบ่งได้หลายรูปแบบ อาการปวดหัวข้างเดียว (Hemicranial Headache) เป็นอาการปวดหัวที่พบได้บ่อย หลายคนมักคิดว่าอาการนี้เป็นสัญญาณของโรคไมเกรน (Migrain) แต่อาจไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป

อาการปวดหัวข้างเดียว อาจเกิดจากความเครียด นอนน้อย ผลข้างเคียงจากยา โรค และอุบัติเหตุไม่ต่างจากการปวดหัวปกติ โดยอาจเกิดขึ้นและหายได้เอง บางครั้งก็อาจเป็นเรื้อรังได้ แต่ไม่ว่าจะแบบไหนก็ไม่ควรปล่อยอาการปวดหัวข้างเดียวไว้โดยไม่ไปตรวจและรักษา เพราะบางทีอาการนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงได้

ปวดหัวข้างเดียวมีกี่แบบ
อย่างที่ได้บอกไปว่า อาการปวดหัวข้างเดียวไม่จำเป็นต้องเป็นอาการของไมเกรนเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงอาการปวดหัวแบ่งออกได้หลายชนิดมาก ๆ แต่ส่วนใหญ่ที่พบมี 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

ปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว (Tension Headaches)
อาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวพบได้บ่อยที่สุด ลักษณะการปวดจะรู้สึกปวดตื้อ ๆ หน่วง ๆ หรือรู้สึกเหมือนศีรษะถูกบีบรัด สาเหตุมักเกิดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวและใกล้เคียง ส่วนใหญ่มักปวดหัวทั้งสองข้าง แต่ก็อาจปวดข้างเดียวได้เหมือนกัน

อาการปวดจากการเกร็งของกล้ามเนื้ออาจเริ่มจากบริเวณคอ บ่า และไหล่ ลามมายังบริเวณศีรษะและขมับ บางครั้งอาจมีอาการกดเจ็บบริเวณหนังศีรษะด้วย หากปวดเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ นานหลายวัน รู้สึกปวดมากขึ้น หรือพบอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์ นอกจากนี้ การปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวที่รุนแรงอาจทำให้ไวต่อเสียงและแสงคล้ายกับไมเกรนได้ด้วย

ไมเกรน

ไมเกรน พบได้บ่อยรองลงมาจากอาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวและมักรุนแรงมากกว่า สาเหตุของไมเกรนมาจากเส้นประสาทในผนังหลอดเลือดภายในศีรษะบางส่วนทำงานผิดปกติ อาการปวดไมเกรนอาจปวดได้ทั้งสองข้าง เพียงแต่ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดข้างเดียวมากกว่า

บางครั้งอาจปวดที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงลามไปอีกข้าง หรือปวดสองข้างสลับกัน มักเริ่มปวดบริเวณกระบอกตา จากนั้นค่อยลามไปยังศีรษะและใบหน้า โดยจะรู้สึกปวดตุบ ๆ (Throbbing Pain) อย่างรุนแรงหรือรู้สึกถึงอาการปวดตามจังหวะการเต้นของชีพจร (Pulsating Sensation) อาการปวดอาจอยู่ได้นานราว 4-72 ชั่วโมง

อีกทั้ง ยังอาจพบอาการอื่น ๆ เช่น น้ำตาไหล คัดจมูก ไวต่อแสงและเสียงมากขึ้น ตาพร่า เห็นแสงวูบวาบ ได้ยินเสียงในหู และภาวะพาเรสทีเชีย (Paresthesia) ที่อาจส่งผลให้รู้สึกชา คัน หรือแสบร้อนจากความผิดปกติของเส้นประสาท

บางคนอาจพบอาการเหล่านี้ก่อนที่จะเกิดอาการปวดหัวแบบไมเกรนตามมา ซึ่งสัญญาณเตือนนี้เรียกว่า ออร่า (Auras) แต่บางคนอาการปวดไมเกรนอาจเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสัญญาณเตือน หากรู้สึกปวดจนทนไม่ไหวหรือเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษา

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headaches)

อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์พบได้น้อย แต่ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวอย่างรุนแรง ร่วมกับปวดใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณกระบอกตา คอ และหัวไหล่

อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์อาจสังเกตได้จากความถี่ในการเกิด เพราะอาการปวดหัวข้างเดียวชนิดนี้มักเกิดเป็นระยะ 1–8 รอบ/วัน ปวดนานรอบละ 30–60 นาที อาจหายได้ในวันเดียวหรือเป็นต่อเนื่องกันตั้งแต่ 1 วันไปจนถึง 3 เดือน หากเป็นต่อเนื่องจะพบว่าอาการปวดมักเกิดในเวลาเดียวกันของทุกวัน บางคนอาจพบอาการปวดหัวนี้เป็นประจำในช่วงเวลาเดียวกันทุก 1–2 ปี แต่บางช่วงอาจไม่พบอาการปวดหัวได้เช่นกัน

นอกจากนี้ อาจพบอาการอื่น อย่างผื่นขึ้น ตาแดง น้ำมูกไหล ตาแดง น้ำตาไหล หนังตาตก อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย (Restlessness) คลื่นไส้อาเจียน ไวต่อแสง เสียง และกลิ่น

ปวดหัวข้างซ้ายและข้างขวาต่างกันไหม สาเหตุเกิดจากอะไร?

หลายคนอาจพบกับอาการปวดหัวข้างเดิมซ้ำ ๆ ส่วนบางคนอาจพบว่ามีอาการปวดแบบซ้ายทีขวาที โดยในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่บ่งบอกถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างใดข้างหนึ่งได้อย่างชัดเจน ซึ่งสาเหตุของอาการปวดหัวข้างเดียวนั้นอาจเกิดได้จากการบาดเจ็บบริเวณศีรษะและสมอง รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้

การใช้ชีวิต

พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์บางอย่างอาจกระตุ้นให้กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หรือระบบภายในร่างกายบางระบบให้ทำงานผิดปกติจนทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวได้ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กินอาหารไม่ตรงเวลา นอนน้อย เกิดความเครียด ได้รับคาเฟอีน กินอาหารสำเร็จรูป ออกกำลังกายหนักเกินไป ใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป นอกจากนี้ บางคนอาจปวดหัวจากการมีเซ็กส์ได้ด้วย

ปัญหาสุขภาพ

อาการปวดหัวข้างเดียวหรือสองข้างเป็นสัญญาณทั่วไปของการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยทั่วไปหรือว่าโรคร้ายแรง เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคไซนัสอักเสบ ภาวะติดเชื้อ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคสมองและระบบประสาท เนื้องอกในสมอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น

ปวดหัวข้างเดียวแบบไหนเป็นอันตราย?

หากการปวดหัวของคุณมีลักษณะต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างเหมาะสม เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยร้ายแรงได้

ปวดหัวหลังศีรษะกระแทกหรือบาดเจ็บ

  • รุนแรงหรือเรื้อรังจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน
  • ลักษณะการปวดหัวเปลี่ยนไปจากปกติในคนที่ปวดหัวเรื้อรัง
  • เกิดร่วมกับอาการอื่น เช่น เป็นไข้ คอแข็งหรือไม่สามารถก้มเงยคอได้ (Stiff Neck) ไอ แน่นหน้าอก ปวดตาอย่างรุนแรง และมีอาการกดเจ็บบริเวณขมับ
  • เกิดร่วมกับอาการทางประสาท เช่น สับสน ความจำเสื่อม สูญเสียการมองเห็น พูดไม่ชัด กล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวไม่ได้ ชาตามร่างกาย ชัก หรือมีบุคลิกเปลี่ยนไป
  • เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันและรุนแรง โดยเฉพาะอาการปวดที่ทำให้ตื่นขณะนอนหลับ
  • มีอายุมากกว่า 50 ปี และเกิดอาการปวดหัวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ที่อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงได้เช่นกัน หากปวดหัวมากกว่าปกติควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว กำลังตั้งครรภ์ อยู่ระหว่างการรักษาโรคอื่น เด็ก และผู้สูงอายุ

การดูแลตนเองหากมีอาการปวดหัวข้างเดียว

ในเบื้องต้นอาการปวดหัวข้างเดียวอาจบรรเทาได้ด้วยการนอนพักในห้องที่มืด เย็น และเงียบเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น โดยเฉพาะแสง เสียง และความร้อน งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

หากไม่มีโรคประจำตัวที่ห้ามใช้ยา สามารถใช้ยาแก้ปวดชนิดไม่มีสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาปวดได้ เช่น ยาไอบูโพรเฟ่น (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen) หรือกลุ่มยาลดไข้ลดปวด อย่างพาราเซตามอล (Acetaminophen)
 

สำหรับใครที่เป็นไมเกรน หากเกิดออร่าหรือสัญญาณการปวดไมเกรน ควรใช้ยาแก้ปวดไมเกรนทันทีเพราะจะช่วยบรรเทาอาการได้ดีกว่าตอนที่เกิดอาการปวดแล้ว หากอาการไม่ดีขึ้น แย่ลง และเป็นติดต่อกันหลายวัน ควรไปพบแพทย์

เพื่อป้องกันอาการปวดหัวข้างเดียว ควรพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบทุกมื้อและตรงเวลา หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น แสงแดด แสงหน้าจอ เสียงดัง ความร้อน ความเครียด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และบุหรี่ นอกจากนี้ การรักษาสุขภาพด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสมก็อาจช่วยรักษาสุขภาพโดยรวมได้ด้วย

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

ปวดหัวเรื้อรัง อาการกวนใจที่ควร(รีบ)รักษาตัว

ชุดบทความดีๆ ชุดนี้ หยิบยกมาจาก ทีมงานของ แผนกอายุรกรรมประสาทและสมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ ที่เขียนบรรยายเกี่ยวกับอาการปวดหัวไว้อย่างน่าสนใจและครอบคลุม นำเสนอเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดหัวมากยิ่งขึ้น ครบทุกมิติ

อาการปวดหัวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ปวดกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ กล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ หลอดเลือดบริเวณรอบศีรษะ จนไปถึงโครงสร้างต่าง ๆ ที่สำคัญในสมอง ซึ่งคนจำนวนมากอาจมีประสบการณ์การการปวดหัวเรื้อรังจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป จนถึงมีอีกจำนวนหนึ่งที่หาสาเหตุไม่พบ ซึ่งอาการปวดหัวเรื้อรังย่อมก่อให้เกิดความไม่สบายกายในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการงานรวมไปถึงสภาพจิตใจ และในบางโรคอาจมีอันตรายถึงชีวิต การสืบค้นหาสาเหตุและการวินิจฉัยที่ถูกต้องมีความจำเป็นสำหรับการรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังเหล่านี้ในระยะยาว

อาการปวดหัวเรื้อรัง (Chronic Headache) สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ กระบวนการในเบื้องต้นผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อสืบค้นโรคที่อันตรายก่อน เช่น เนื้องอกในสมอง ปวดหัวจากความดันโลหิตสูง ความดันของน้ำในโพรงสมองสูงหรือต่ำไป เยื่อหุ้มสมองหักเรื้อรัง หลอดเลือดดำในสมองอุดตัน หลอดเลือดแดงในสมองโป่งพองเป็นกระเปาะ เป็นต้น ในกรณีที่สืบค้นแล้วไม่พบโรคร้ายดังที่ยกตัวอย่าง สาเหตุของอาการปวดหัวเรื้อรังที่พบบ่อยยังคงมีได้อีกหลากหลายสาเหตุและหลากหลายรูปแบบ ดังที่จะกล่าวในบทความนี้ต่อไป

ประเภทของการปวดหัวเรื้อรัง

อาการปวดหัวเรื้อรังนั้น แท้จริงสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายประเภทมากมาย แต่โรคปวดหัวเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากโรคคร้ายซ่อนอยู่ในสมองที่พบได้บ่อยมี 6 โรค ที่จะอธิบายถึงในบทความนี้

ปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง (Chronic migraine)
ไมเกรนเป็นหนึ่งในโรคปวดหัวที่สามารถเป็นเรื้อรังได้ พบบ่อยมากในเฉพาะคนที่เป็นไมเกรนมาก่อน โดยไมเกรนจะเป็นถี่ขึ้นเกิน 15 วันต่อเดือน และต่อเนื่องกันเกิน 3 เดือน อาการปวดหัวที่เด่นของไมเกรนเรื้อรัง จะเป็นการปวดหัวที่มีลักษณะเป็นซีกซ้ายหรือขวา มักจะเด่นข้างใดข้างหนึ่งและสามารถสลับข้างได้ อาการปวดมีลักษณะเต้นตุบ เป็นจังหวะคล้ายชีพจร และอาการปวดนั้นจะค่อนข้างรุนแรง มีคลื่นไส้อาเจียนได้บ่อยรวมถึงตาสู้แสงไม่ได้ เห็นแสงแล้วจะมีอาการปวดมาก ส่งผลให้คนที่เป็นไมเกรนชอบอยู่ในที่มืด บางคนมีการรับรู้ที่ผิดปกติไป ในช่วงก่อนหรือระหว่างการปวดหัว เช่น อาจเห็นภาพซิกแซก แสงวูบวาบ บางรายอาจมีความรู้สึกชาตามร่างกาย หรือเวียนหัวบ้านหมุนก็เป็นไปได้

ในปัจจุบันเชื่อว่า ไมเกรน เกิดจากการที่มีหลอดเลือดบริเวณศีรษะขยายตัวผิดปกติ โดยมักกระตุ้นได้จากความเครียด การนอนไม่พอ รวมไปถึงความร้อน แสง สี เสียง กลิ่นรบกวนบางอย่าง และมีปัจจัยด้านพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน ซึ่งในโรคไมเกรนเรื้อรังเองอาจทำให้คุณภาพชีวิตลดลง จนมีปัญหาด้านการงานและจิตใจตามมาได้หากไม่ได้รับการรักษา

ปวดหัวจากกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ (Chronic tension-type headache)

เป็นอีกหนึ่งโรคเกี่ยวกับปวดหัวเรื้อรังที่พบได้บ่อยใกล้เคียงกับไมเกรนเรื้องรัง ลักษณะของอาการปวดแบบ tension-type จะมีลักษณะอาการปวดแบบตื้อและรัดบริเวณรอบศีรษะทั้งสองข้าง ขมับ และอาจรวมไปถึงปวดบริเวณต้นคอ และท้ายทอย อาการปวดมักไม่รุนแรงมาก แต่มักจะปวดได้ยาวนานรวมกันเกิน 15 วันต่อเดือน อาการคลื่นไส้อาเจียนอาจมีได้แต่พบน้อยกว่า

สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบชัดเจน เชื่อว่าอาจเกิดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อที่สร้างสารรับความรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าปกติ อาการปวดหัวประเภทนี้มักสัมพันธ์กับความเครียด รวมไปถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงการทำงานหนักก็สามารถกระตุ้นให้มีอาการปวดประเภทนี้ได้เช่นกัน แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

ประเภทของการปวดหัวเรื้อรัง

อาการปวดหัวเรื้อรังนั้น แท้จริงสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายประเภทมากมาย แต่โรคปวดหัวเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากโรคคร้ายซ่อนอยู่ในสมองที่พบได้บ่อยมี 6 โรค ที่จะอธิบายถึงในบทความนี้

ปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง (Chronic migraine)
ไมเกรนเป็นหนึ่งในโรคปวดหัวที่สามารถเป็นเรื้อรังได้ พบบ่อยมากในเฉพาะคนที่เป็นไมเกรนมาก่อน โดยไมเกรนจะเป็นถี่ขึ้นเกิน 15 วันต่อเดือน และต่อเนื่องกันเกิน 3 เดือน อาการปวดหัวที่เด่นของไมเกรนเรื้อรัง จะเป็นการปวดหัวที่มีลักษณะเป็นซีกซ้ายหรือขวา มักจะเด่นข้างใดข้างหนึ่งและสามารถสลับข้างได้ อาการปวดมีลักษณะเต้นตุบ เป็นจังหวะคล้ายชีพจร และอาการปวดนั้นจะค่อนข้างรุนแรง มีคลื่นไส้อาเจียนได้บ่อยรวมถึงตาสู้แสงไม่ได้ เห็นแสงแล้วจะมีอาการปวดมาก ส่งผลให้คนที่เป็นไมเกรนชอบอยู่ในที่มืด บางคนมีการรับรู้ที่ผิดปกติไป ในช่วงก่อนหรือระหว่างการปวดหัว เช่น อาจเห็นภาพซิกแซก แสงวูบวาบ บางรายอาจมีความรู้สึกชาตามร่างกาย หรือเวียนหัวบ้านหมุนก็เป็นไปได้

ในปัจจุบันเชื่อว่าไมเกรนเกิดจากการที่มีหลอดเลือดบริเวณศีรษะขยายตัวผิดปกติ โดยมักกระตุ้นได้จากความเครียด การนอนไม่พอ รวมไปถึงความร้อน แสง สี เสียง กลิ่นรบกวนบางอย่าง และมีปัจจัยด้านพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน ซึ่งในโรคไมเกรนเรื้อรังเองอาจทำให้คุณภาพชีวิตลดลง จนมีปัญหาด้านการงานและจิตใจตามมาได้หากไม่ได้รับการรักษา

ปวดหัวจากกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ (Chronic tension-type headache)
เป็นอีกหนึ่งโรคเกี่ยวกับปวดหัวเรื้อรังที่พบได้บ่อยใกล้เคียงกับไมเกรนเรื้องรัง ลักษณะของอาการปวดแบบ tension-type จะมีลักษณะอาการปวดแบบตื้อและรัดบริเวณรอบศีรษะทั้งสองข้าง ขมับ และอาจรวมไปถึงปวดบริเวณต้นคอ และท้ายทอย อาการปวดมักไม่รุนแรงมาก แต่มักจะปวดได้ยาวนานรวมกันเกิน 15 วันต่อเดือน อาการคลื่นไส้อาเจียนอาจมีได้แต่พบน้อยกว่า 

สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบชัดเจน เชื่อว่าอาจเกิดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อที่สร้างสารรับความรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าปกติ อาการปวดหัวประเภทนี้มักสัมพันธ์กับความเครียด รวมไปถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงการทำงานหนักก็สามารถกระตุ้นให้มีอาการปวดประเภทนี้ได้เช่นกัน

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

ปวดหัวจากการใช้ยาแก้ปวดเกินขนาด (Medication overuse headache)

การปวดหัวประเภทนี้ ผู้ป่วยมักมีโรคปวดหัวอย่างอื่นอยู่ก่อนแล้ว เช่น ไมเกรน และจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดปริมาณมาก มากกว่า 10-15 เม็ดต่อเดือน และยังคงมีอาการปวดหัวทุกวันโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถลดยาแก้ปวดลงได้ หากลดยาแก้ปวดลงจะกำเริบทันที ลักษณะอาการปวดจะคล้ายกับโรคที่เป็นอยู่เดิม เช่น ถ้าเคยปวดแบบไมเกรน อาการปวดก็จะเป็นลักษณะคล้ายไมเกรน

อาการปวดหัวประเภทนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่จำเพาะคือ การเลิกยาแก้ปวดที่ใช้อยู่ ไม่เช่นนั้นอาการปวดจะไม่ดีขึ้น หากเป็นเรื้อรังอาจทำให้ได้รับผลข้างเคียงจากยาที่ใช้มากเกิน รวมไปถึงผลกระทบด้านจิตใจละคุณภาพชีวิต

ปวดหัวข้างเดียวเรื้อรัง (Hemicrania continua)

เป็นโรคเกี่ยวกับการปวดหัวเรื้อรังที่พบได้น้อยกว่า 3 โรคแรกที่กล่าวถึงไปอย่างมาก ลักษณะของโรคปวดหัวข้างเดียวเรื้อรังนี้มักมีลักษณะจำเพาะอย่างมาก คือ ปวดบริเวณรอบกระบอกตา รวมไปถึงบริเวณขมับข้างเดียวโดยไม่เคยย้ายข้าง เป็นเรื้อรังมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ความรุนแรงของอาการปวดอาจมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยจนถึงปวดรุนแรงมาก และมักจะมีลักษณะอื่นร่วมด้วยเวลามีอาการปวด เช่น น้ำตาไหล ตาแดง ตาบวม น้ำมูกไหล ปากบวมในข้างที่ปวด และบ่อยครั้งที่พบว่าผู้ป่วยจะกระสับกระส่ายอยู่นิ่งไม่ได้เมื่อมีอาการปวด ตรงข้ามกับไมเกรนที่เวลาปวดมักจะอยู่นิ่ง ๆ ในที่มืดเพื่อทำให้อาการปวดลดลง

โรคปวดหัวชนิดนี้เชื่อว่าเกิดจากการทำงานของเส้นประสาทคู่ที่ 5 ของสมอง หรือ เส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal) รับความรู้สึกและส่งสัญญาณผิดปกติ และตอบสนองดีมากต่อยาแก้ปวดตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Indomethacin ซึ่งเป็นลักษณะที่จำเพาะมากของโรคปวดหัวนี้

ปวดหัวต่อเนื่องทุกวัน (New daily persistent headache)

เป็นโรคที่พบได้น้อย ลักษณะอาการปวดหัวเรื้อรังของโรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในคนที่ไม่เคยมีโรคปวดหัวใดมาก่อน ลักษณะปวดเป็นทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ พบอาการคลื่นไส้อาเจียนหรือตาสู้แสงไม่ได้ ซึ่งเป็นลักษณะของไมเกรนที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยมักจจะจำวันแรกที่เริ่มปวดได้แม่นยำ และอาการปวดยาวนานมามากกว่า 3 เดือน โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน และควรจะต้องได้รับการสืบค้นเพิ่มเติมโดยแพทย์ก่อนอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยประมาณ 70% สามารถหายจากโรคนี้ได้เองเมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี และอีกส่วนยังคงมีอาการปวดหัวต่อเนื่องที่ต้องการยาแก้ปวดช่วยบรรเทาอาการ

ปวดหัวแบบคลัสเตอร์เรื้อรัง (Chronic cluster headache)

เป็นโรคปวดหัวที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับการทำงานของต่อมใต้สมองและเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ทำงานผิดปกติ ลักษณะอาการปวดอาจคล้ายกับโรคปวดหัวข้างเดียวเรื้อรัง แต่จะมีอาการปวดหัวข้างเดียวอย่างรุนแรงมากเหมือนโดนของแหลมทิ่มแทง สะดุ้งตื่นได้จากอาการปวด ร่วมกับมีอาการตาแดงน้ำตาไหล ตาบวมปากบวม หรือหนังตาตกในข้างที่ปวด อาการปวดมักจะอยู่ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ในกรณีที่เป็นบ่อยโดยไม่มีช่วงหายยาวนานกว่า 3 เดือน จะเข้าข่ายอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์เรื้อรัง

โรคนี้ ตอบสนองดีต่อการได้รับออกซิเจนเสริม และยาแก้ปวดจำเพาะบางตัว อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรงเฉียบพลันของโรคนี้มักจะพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อสืบค้นเพิ่มเติม  

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 
อาการปวดหัวเรื้อรังเกิดจากอะไรได้บ้าง

จากโรคเกี่ยวกับปวดหัวเรื้อรังที่กล่าวถึงในเบื้องต้น โรคจำนวนมากอาจยังไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่ปัจจัยที่พบบ่อยที่เกี่ยวข้องกับโรคปวดหัวหลายโรคได้แก่ ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ อีกทั้งความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และรวมไปถึงพันธุกรรม แม้ว่าโรคปวดหัวเรื้อรังจำนวนมากไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาการที่เกิดขึ้นอาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก และต้องได้รับการรักษา

ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยกับคนที่มีอาการปวดหัวเรื้อรัง มักพบร่วมกับโรคปวดหัวเรื้อรังทุกประเภทและเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดแบบ Tension-type สาเหตุมักเกิดจากความเครียด หรือพฤติกรรมการทำงานที่มีการใช้สายตาหรือเกร็งต้นคออยู่ตลอดเวลา เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการตึงตัวจะมีสารที่สร้างความเจ็บปวดสะสมในกล้ามเนื้อ จนทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหัวหรือต้นคอ อาการปวดมักจะเป็นลักษณะ ตื้อ ๆ หนัก ๆ หรือ ลักษณะเหมือนถูกรัด อาการปวดจะไม่รุนแรงมากแต่ปวดตลอดเวลาและอาจจะรบกวนชีวิตประจำวันได้

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมีส่วนทำให้ปวดหัวเรื้อรังได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอาการปวดหัวแบบไมเกรน ผู้ป่วยจำนวนมากพบว่าอาการปวดหัวจะกำเริบในช่วงระยะเวลาที่มีประจำเดือน ทั้งนี้เพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว ซึ่งในผู้ป่วยโรคไมเกรนส่วนใหญ่นั้นอาการปวดหัวจะลดลงจนหายไปได้เองในช่วงที่หมดประจำเดือน แต่นั่นยังอาจจะเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน การรักษาเพื่อบรรเทาอาการจึงจำเป็นในผู้ป่วยจำนวนมาก

พันธุกรรม

ใครที่มีบุคคลในครอบครัวมีอาการปวดหัวเรื้อรังจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคไมเกรน นั้น อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เรามีโรคเช่นเดียวกันได้ เพราะพันธุกรรมคืออีกหนึ่งปัจจัย ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับการปวดหัวเรื้อรังบางโรคมีความเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่สาเหตุจากพันธุกรรมโดยตรง

เส้นประสาทใบหน้าทำงานผิดปกติ

เส้นประสาทคู่ที่ 5 ของสมอง หรือเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal) เป็นเส้นประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกต่าง ๆ บนใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส หรือการรับรู้อุณหภูมิต่าง ๆ ซึ่งหากว่าเส้นประสาทในส่วนนี้เกิดการทำงานผิดปกติจะส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรังในส่วนของใบหน้า ฟัน เหงือก หรือกรามได้ และอาจมีน้ำตาไหล ตาแดง ตาบวมปากบวมในใบหน้าซีกนั้นได้ ซึ่งเส้นประสาทใบหน้าทำงานผิดปกตินี้เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัว และในบางครั้งอาจจะเกี่ยวข้องกับโรคงูสวัด ไม่ว่าจะมีอาการก่อนหรือหลังผื่นปรากฎในกรณีนี้ควรพบแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการรักษา

แนวทางในการรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังเบื้องต้น

สำหรับวิธีแก้อาการปวดหัวเรื้อรังนั้น ถ้าอาการปวดเป็นเรื้อรังและรบกวนชีวิตประจำวัน หรือรู้สึกถึงความผิดปกติต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น อาการชา อ่อนแรง พูดไม่ชัด เดินเซ หรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อสืบค้นสาเหตุที่อาจเกิดจากโรคที่อันตราย แต่หากอาการปวดหัวเป็นมาอย่างยาวนานหลายปี สัมพันธ์กับความเครียดหรือการพักผ่อนน้อยค่อนข้างชัดเจน สิ่งที่พอจะปฏิบัติเพื่อลดการกำเริบของโรคปวดหัวได้นั้น มีดังนี้

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

การบริหารจัดการความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ

เนื่องจากอาการปวดหัวที่เป็นเรื้อรังหลายครั้งที่เกิดจากความเครียด และการทำงานในชีวิตประจำวัน ซึ่งความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอนั้นเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่เป็นตัวกระตุ้นการปวดหัวทั้งแบบ Tension-type และ แบบไมเกรน

สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ในเบื้องต้นคือการหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ และบริหารจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ผ่อนคลายด้วยกิจกรรมที่เพลิดเพลินต่าง ๆ และสังเกตว่าอาการปวดหัวลดลงหรือไม่ ถ้าอาการปวดหัวลดลงเป็นการยืนยันโดยทางอ้อมว่าโรคปวดหัวที่เป็นอาจเกิดจากสาเหตุนี้

แต่ผู้ป่วยจำนวนมากมักมีความเครียดที่ค่อนข้างหนักในชีวิตประจำวันและจัดการความเครียดด้วยตัวเองไม่ได้ ถ้าเป็นในกรณีนี้แนะนำให้พบแพทย์เพิ่มเติมเพื่อพิจารณาให้ยาและสืบหาว่ามีโรคซึมเศร้าร่วมด้วยหรือไม่ เพราะหากไม่รักษาที่สาเหตุแล้วอาการปวดหัวนี้จะไม่หาย และอาจได้รับผลข้างเคียงจากยาหรือเป็นโรคปวดหัวจากการใช้ยาเกินขนาดขึ้นมาซ้ำเติม

การนวดแผนไทย การฝังเข็ม และการกายภาพบำบัด

การรักษานี้จะใช้ได้ผลกับโรคปวดหัวชนิด tension-type ที่เกิดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและคอ การนวด ฝังเข็ม กายภาพบำบัด หรือแม้แต่ประคบร้อนจะช่วยบรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และทำให้อาการปวดหัว ปวดต้นคอลดลงได้ แต่การบรรเทาอาการปวดนี้ใช้ได้ชั่วคราว หากสาเหตุยังไม่ได้รับการแก้ไข อาจจะกลับมาปวดอีกได้

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายสามารถช่วยลดการกำเริบของโรคปวดหัวได้หลายโรค นอกจากช่วยยืดลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อโดยตรงแล้ว ยังส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้อาการปวดลดลงด้วย รวมไปถึงการผ่อนคลายทางด้านจิตใจ และลดความเครียดลงในทางอ้อม ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวเรื้อรังควรหาเวลาออกกำลังกายวันละ 20-30 นาที อาจจะด้วยการวิ่ง การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ หรือการออกกำลังกายอื่นที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายในลักษณะ aerobic จะช่วยลดการกำเริบของโรคปวดหัวเรื้อรังได้

การซื้อยากินเองอาจไม่ปลอดภัย!

ในเบื้องต้นยาที่ผู้ป่วยอาจจะลองซื้อกินเองได้ คือ ยา paracetamol ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่ค่อนข้างปลอดภัยหากไม่ได้กินเกินขนาดในต่อวัน หากช่วยบรรเทาอาการปวดได้ผู้ป่วยสามารถกินยานี้เป็นครั้งคราวเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ แต่ยาในกลุ่มอื่น ๆ ที่ออกฤทธิ์แก้ปวดแรงกว่า แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เนื่องจากการใช้ยากลุ่มอื่นอาจตามมาด้วยผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ เช่น โรคกระเพาะ โรคหัวใจ เส้นเลือดตีบปลายมือปลายเท้าขาดเลือด หรือแม้แต่การติดยา

นอกจากนี้การใช้ยาเหล่านี้บ่อยครั้ง (มากกว่า 10-15 เม็ด ต่อเดือน) อาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นโรคปวดหัวจากการใช้ยาแก้ปวดเกินขนาดตามมาได้ ซึ่งถ้าเกิดโรคนี้แล้วจำเป็นที่ต้องกินยาแก้ปวดตลอด หากหยุดเมื่อไหร่อาการปวดหัวจะกำเริบซึ่งจะยากต่อการรักษาในอนาคต

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

ไลฟ์สไตล์เจ้าปัญหาที่ต้องรู้และควรแก้ไข เพื่อไม่ให้อาการปวดหัวเรื้อรังมาถึงตัว

นอกจากสาเหตุการเกิดอาการปวดหัวเรื้อรังจะเกิดจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ฮอร์โมน หรือระบบประสาทที่ถูกกระตุ้นแล้ว การใช้ชีวิตประจำวันก็มีส่วนสำคัญที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรังได้ ซึ่งไลฟ์สไตล์เหล่านั้น ได้แก่

การใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงานที่อาจทำงานหักโหม มีเวลาพักผ่อนน้อย เกิดความเครียดได้ง่าย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้รู้สึกปวดหัวอยู่ตลอดเวลา และเสี่ยงที่จะมีอาการปวดหัวเรื้อรังได้

เพ่งจอโทรศัพท์หรือแสงสีฟ้าตลอดเวลา สำหรับผู้ที่ชอบดูโทรทัศน์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ ซึ่งพฤติกรรมนี้จะทำให้กล้ามเนื้อและดวงตาทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดโดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อตาได้

มีพฤติกรรมมีเรื่องให้ต้องขบคิดหรือกังวลใจตลอดเวลา ไม่ว่าจะมาจากปัจจัยภายนอก เรื่องราวรอบตัว หรือมาจากความกังวลภายในจิตใจตนเอง เช่น งานจากสถานศึกษาหรือที่ทำงาน การกดดันตัวเอง หรือมองโลกในแง่ลบ ซึ่งจะทำให้เกิดความเครียดสะสม และเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรังได้

อาการปวดหัวเรื้อรังเป็นอาการปวดหัวติดต่อกันหลายวัน ซึ่งจะปวดหัวตลอดเวลา ไม่มีไข้

โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นมากกว่า 15 วันต่อเดือน และมีอาการปวดติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งภาวะปวดหัวเรื้อรังสามารเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางครั้งเกิดจากความเครียด กล้ามเนื้อตึงตัว หรือฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง สำหรับแนวทางวิธีแก้อาการปวดหัวเรื้อรังนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งแนวทางในการรักษามีตั้งแต่การกินยาบรรเทาอาการ การนวด การฝังเข็ม และการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง

ขอขอบคุณที่มา: เพจหมอดื้อ หมอธีระวัฒน์ 
ขอขอบคุณที่มา: ปวดหัวแบบไหนใช่ “ไมเกรน”บทความดีๆ จาก รพ.ศิครินทร์ 
ขอขอบคุณที่มา: ปวดหัวข้างเดียว สัญญาณสุขภาพที่อาจไม่ใช่ไมเกรนเสมอไป | อ้างอิงจากเพจ POBPAD
ขอขอบคุณที่มา: ปวดหัวเรื้อรัง อาการกวนใจที่ควรรักษา  | 29 เม.ย. 2565 | เขียนโดย แผนกอายุรกรรมประสาทและสมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

แพทย์ดัง เผยข้อมูล “อาการปวดหัว”หนึ่งอาการที่คนรักสุขภาพยุคนี้ ต้องอ่าน 

 

logoline